ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา เพี้ยกระทิง,สะเลียม ดง
เพี้ยกระทิง,สะเลียม ดง
Melicope pteleifolia (Champ. ex Benth.) Hartley
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Rutaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Melicope pteleifolia (Champ. ex Benth.) Hartley
 
  ชื่อไทย เพี้ยกระทิง,สะเลียม ดง
 
  ชื่อท้องถิ่น - แสงกลางวัน,ขมสามดอย(ไทใหญ่), เพี้ยกระทิง,สะเลียมดง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มะโหกโตน(คนเมือง), ตะคะโดะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - ผักส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) [5]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มหรือไม้ต้น
ใบ ประกอบแบบนิ้วมือมี 3 ใบย่อย เรียงตรงข้าม
ดอก ช่อ ออกที่ง่ามใบ สีขาว
ผล รูปกลม สีดำ เมื่อแก่แตก [5]
 
  ใบ ใบ ประกอบแบบนิ้วมือมี 3 ใบย่อย เรียงตรงข้าม
 
  ดอก ดอก ช่อ ออกที่ง่ามใบ สีขาว
 
  ผล ผล รูปกลม สีดำ เมื่อแก่แตก [5]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบและยอดอ่อน กินกับลาบ, ดอก ลวกกินกับน้ำพริก(ไทใหญ่)
ใบ นำมาย่างไฟอ่อนแล้วขยี้เป็นแผ่นเล็กๆ หรือใส่ทั้งใบลง ในแกง เพื่อเพิ่มรสขม หรือลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ยอดอ่อนและดอก รับประทานสดหรือนำไปผึ่งแดดให้ แห้ง แล้วใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก และใส่ข้าวเบือน(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ใบ กินสดแก้ตุ่มคัน(ไทใหญ่)
ราก เป็นยารักษาโรคริดสีดวง, หัว ต้มกิน ทำให้มดลูกของผู้หญิงเข้าอู่(คนเมือง)
- ใบ ขยี้ทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดเวลาเข้าป่า(ไทใหญ่)
ราก แก้ไข้หนาว ทั้ง 5 แก้ปวดเอว ปวดตามตัว แก้เคล็ด รักษาอาการมดลูกอักเสบ [5]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง